7 วิธีออกแบบปกหนังสืออย่างไรให้น่าซื้อ
เบื้องหลังปกหนังสือที่ดีงามจนเราทนไม่ไหวต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน บ้างเพื่ออ่าน บ้างเพื่อสะสมนั้น เหล่านักออกแบบมีวิธีการการออกแบบปกหนังสืออย่างไร ให้คนอ่านอย่างเราสนใจ ทำยังไงให้กระดาษน่าเก็บสะสม เชิญติดตาม
มานิตา ส่งเสริม
Freelance Designer
“โดยส่วนตัวแล้วมีเทคนิคการออกแบบปกหนังสืออย่างไร ให้คนสนใจ
หรือทำยังไงให้ออกมาน่าสะสม
ส่วนตัวเราการออกแบบปกนอกจากตีความให้เข้ากับเนื้อหาและดึงเอกลักษณ์ของหนังสือให้ได้แล้ว
ที่เหลือเป็นการใส่ passion ของเราที่มีต่องานออกแบบเข้าไป
คือปกติเราจะรู้สึกมีปฏิสัมพันธ์กับงานที่สร้างให้เกิดความสงสัยหรือบอกไม่หมด
ในหลายๆ ปกที่ใหม่ออกแบบส่วนใหญ่จะเป็นแบบนั้น
เพราะชอบเล่นกับความรู้สึกหรือความไม่คุ้นชินของคน
ตอนนั้นเราคิดว่าอย่างน้อยถ้ามันทำให้เกิด reaction ไม่ว่าจะชอบ เกลียด
กลัว หรือสงสัย เราว่ามันดีหมด”
“ตัวอย่างหนังสือที่ใช้เทคนิคดังกล่าว คือปกหนังสือเรื่อง Revenge
ชื่อเรื่องฟังดูเชือดเฉือนแต่เนื้อหาข้างในกลับเดินเรื่องแบบตรงกันข้าม
ทั้งจังหวะการเล่าที่ไปอย่างเนิบนิ่ง แต่เดาไม่ได้
ตัวละครเส้นเรื่องทับซ้อนกัน เราหลีกเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์รูปภาพต่างๆ
ที่เกี่ยวกับการแก้แค้น ตัดเหลือเพียงการสื่อสารผ่าน Typography
จุดสำคัญสำหรับเราที่สุดคือการเลือกรูปแบบ font ให้ตรงกับ character ปก
เล่มนี้เราเลือก GT Sectra
รูปแบบตัวอักษรนี้มาจากกันตัดเฉือนของตัวเชิงให้บางลงอีก
ปลายทั้งหมดก็จะดูคมมากกว่าปกติ พอมารวมกับวิธีจัดวางแบบ futurist
ที่มีทิศทางสะเปะสะปะ ปะทะกัน
เป็นการบอกเรื่องราวทางอ้อมว่าคุณจะต้องเจอกับหนังสือที่ Silence แบบ
Violence อยู่นะ”
สันติ ลอรัชวี
Practical Design Studio
“ผมมักอ่านก่อน ทุกครั้งจะมีภาพผุดขึ้นในหัวเป็นระยะๆ ระหว่างอ่าน คล้ายสตอรี่บอร์ด แล้วค่อยสรุปสิ่งที่เราพบว่าเป็นสาระสำคัญออกมา จากทั้งเล่มเป็นย่อหน้า จากย่อหน้าเป็นประโยค วลี และคำ และนั่นจะทำให้เราได้สาระที่เราจะสื่อออกมาในปก แล้วก็ค่อยๆ คิดออกมาเป็นภาพ บางครั้งก็สรุปออกมาได้หลายทาง ก็มาเลือกที่เหมาะกับปัจจัยและเงื่อนไขอื่นๆ อีกที”
กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล
Wrongdesign Kornmaipol : ทำปกหนังสือยังไงให้คนซื้อ?Wrongdesign : ใครจะไปรู้ ถ้ารู้ก็ทำเอง พิมพ์เอง ขายเอง รวยไปนานแล้ว
Kornmaipol : คุณบอกว่าตัวเองเป็นนักออกแบบปก ช่วยตอบอะไรให้ดูสมกับอาชีพหน่อย แบบ…มีเทคนิคการออกแบบให้น่าสนใจยังไง
Wrongdesign : ถามแบบนี้ค่อยรื่นหู อย่างแรกคุณต้องอ่านสิ่งที่คุณต้องออกแบบ หนังสือ non-fiction เราจะอ่านเพื่อ ‘เอาเรื่อง’ และเปลี่ยนเรื่องที่ว่าให้กลายเป็นภาพ คิดภาพให้นำหน้าผู้อ่าน คิดให้เหมือนการตั้งคำถามกับคนอ่านด้วยภาพหรืองานออกแบบ ส่วนหนังสือ fiction เราจะอ่านเพื่อ ‘เอาความรู้สึก’ อ่านแบบค้นลงไปในใจกลางของหนังสือ (หรือบทคัดย่อ) พวก fiction, วรรณกรรม, เรื่องสั้น ฯลฯ มันวนเวียนอยู่กับความคิดความรู้สึกของมนุษย์–สุข ทุกข์ เศร้า หัวเราะ หวาดกลัว ความรัก ความเหงา ความตาย ฯลฯ ไม่หนีไปจากนี้ พยายามค้นหาสิ่งเหล่านี้แล้วเปลี่ยนมันเป็นภาพ แค่ว่าหมวดนี้พื้นที่ของการคิดภาพมันจะกว้าง คุณจะทำปกเป็นกระดาษขาวเปล่าๆ แล้วบอกว่ามันคือความว่างเปล่าของตัวละครอะไรก็ว่าไป มันกว้างได้แบบนั้น
Kornmaipol : ตอบยาว ช่วยสรุปสั้นๆ เผื่อเอาไปคัท quote หน่อย
Wrongdesign : เข้าใจธรรมชาติของหนังสือ ให้เวลากับงาน และจงอ่านสิ่งที่ต้องออกแบบ
Kornmaipol : มีตัวอย่างหนังสือที่ใช้เทคนิคพวกนั้นแล้วขายดีบ้างมั้ย
Wrongdesign : ขายดีทุกเล่ม ไป search เองละกัน
วชิรา รุธิรกนก
rabbithood studio “จะว่าไปก็ไม่มีเทคนิคอะไรเป็นพิเศษนะ เพราะเราก็ไม่รู้หรอกว่างานที่ทำเสร็จคนจะสนใจหรือเปล่า จะน่าสะสมมั้ย หลักๆ ก็ตั้งใจทำงานออกมาดีๆ ให้คนที่มาจ้างเขาพึงพอใจ ตัวเราพอใจ ทีมเราพอใจ ทุกครั้งจะทำการบ้านกับเนื้อหาค่อนข้างมาก หาเหลี่ยมมุมเพื่อทำยังไงก็ได้ให้ปกมันช่วยอธิบายเนื้อหาที่อยู่ข้างในได้ภายในหน้ากระดาษเดียว แล้วถ้ามันสามารถสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนได้ด้วยก็ยิ่งดี”สุรเชษฐ์ ศิลปบรรเลง
PIE maker “จริงๆ มันก็มีหลายองค์ประกอบนะ แต่สำหรับเราที่ชัดๆ เลยคือ เราชอบทำงานโดยนำเสนอสิ่งใดสิ่งหนึ่งหนึ่งชัดๆ ไม่ว่าจะเป็นงานปกหนังสือหรืองานอื่นๆ มันจะมีเนื้อหาเรื่องราวที่หยิบมาเล่นได้เยอะ แต่เราจะพยายามเลือกแค่อย่างเดียว แล้วค่อยมานั่งคิดทีหลังว่าจะทำยังไงให้สิ่งนั้นน่าสนใจและสื่อสารได้ง่ายที่สุด เราว่าการเลือกนี้สำคัญมาก สิ่งที่เราเลือกอาจจะเป็นนามธรรม หรือรูปธรรมก็ได้ ที่สำคัญคือมันต้องครอบคลุมทั้งเนื้อหาโดยรวมและสื่อสารกับผู้อ่านได้ด้วย เราใช้วิธีนี้กับหลายงานเลย ไม่ใช่แค่ปกหนังสือ”“อย่าง Nerd of microsolf ก็ใช้ pop up error ในเครื่อง PC, อย่างเพลงรักนิวตริโน ก็เป็นรูปผู้หญิงจีนวินเทจ, อย่าง Early Desire ก็เป็นภาพในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มาทำนิ้วเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการร่วมเพศ ส่วนมากงานเราจะเป็นแบบนี้เกือบหมด คือ ยกอะไรบ้างอย่างขึ้นมาเพียงอย่างเดียวและหาวิธีเล่นกับมัน”
พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ
“โดยส่วนตัวเราไม่ได้มีเทคนิคการออกแบบอะไรพิเศษ ที่สามารถใช้ได้กับหนังสือทุกเล่ม เนื่องจากเราทำหนังสือแปล ส่วนมากเวลาเราออกแบบเราจะคำนึงก่อนว่า เรื่องราวหนังสือมันเป็นยังไง มันเขียนใน tone ไหน หน้าที่ของเราคือสื่อสารให้คนเข้าใจหนังสือให้ได้มากที่สุด และอย่างที่สองคือเรากำลังคุยกับผู้อ่านกลุ่มไหนอยู่ ดีไซน์ที่เราทำมันคุยกับคนกลุ่มนั้นรู้เรื่องมั้ย อย่างเช่น When Breath Become Air ที่มันต้องมีความสงบนิ่ง แต่นุ่มนวล ละเอียดอ่อน หรือ Modern Romance ที่มีความทันสมัย มีความจิดกัดเสียดสี ปกที่ออกมาก็จะมีความสนุกมากกว่า”ภาคภูมิ ลมูลพันธ์
นักออกแบบอิสระ
“เพิ่งได้ทำหนังสือไม่กี่เล่ม จริงๆ ทำงานอะไรก็ใช้เทคนิคนี้คือได้งานมาแล้วก็รีบๆ ทำออกมาก่อน เท่าที่นึกออก บางอันนึกว่าดี ทำออกมาแล้วไม่รอดจะได้รู้ แล้วเวลาที่เหลือก็ค่อยๆ แก้ไป คือให้เวลากับการแก้งานเยอะหน่อย ระหว่างนั้นก็เช็กสิ่งที่ต้องกังวลไปทีละอัน เหมาะกับคนเขียนมั้ย เชยมั้ย เครียดไปมั้ย ซ้ำกับชาวบ้านมั้ย ฯลฯ หรือเรื่องอื่นๆ ที่ต้องคุยกับกองบอกอ มันก็จะเป็นเหตุผลไปทีละอัน ให้คนอื่นช่วยดูก็จะดีไม่งั้นก็จะเสี่ยง ไม่ควรเชื่อตัวเองมากเกินไป ตัวอย่าง ก็เช่นสองเล่มล่าสุดของแซลมอนก็รีบทำแล้วก็แก้ๆๆๆ จนออกมาเป็นแบบนี้ จริงๆ ตอนแรกไม่ใช่อย่างนี้ ซึ่งดีแล้ว ย้อนกลับไปแล้วดูไม่ได้ 555”
Credit : www.thematter.co
Post a Comment